วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
( Ivan Petrovich Pavlov )
ประวัติความเป็นมา
ชื่อ                             อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ   Ivan Petrovich Pavlov
เกิด                   14 กันยายน  ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 )  รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต           27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี)  เลนินกราด , สหภาพโซเวียต
ที่พำนัก           จักรวรรดิรัสเซีย , สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติ           รัสเซีย , โซเวียต
สาขาวิชา           สรีระวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์
สถาบันที่อยู่       สถาบันการแพทย์ทหาร
ผลงาน             การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เกียรติประวัติ     รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )



ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
 (Classical Conditioning Thoery )
การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้ ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัขถูกวางเงื่อนไข (Povlov, 1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตามลำดับขั้นดังนี้
         1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
         2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด
สรุป การทดลองที่จัดว่าเป็น classical ได้ให้ concept ใหญ่ๆ 4 ข้อด้วยกัน    ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญของ S - R Theory คือ
1. กฎการสรุปกฎเกณฑ์ทั่วไป(Law of Generalization) หรือ การแผ่ขยาย                          ( Generalization)
2.
กฎการจำแนกความแตกต่าง(Law of Discrimination)
3.
กฎความคล้ายคลึงกัน   
4. การจำแนก
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
                1.พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent behavioral)
2.พฤติกรรมโอเปอแรนท์ (Operant behavioral)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น  ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
 พาฟลอฟ  เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบ สนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น    ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น
 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ นอกจากจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการวางเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้ว    ยังหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง  สิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน หรือปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งพาฟลอฟได้อธิบายเรื่องราวการวางเงื่อนไขในแง่ของสิ่งเร้า (Stimulus - S) และการตอบสนอง (Response - R)
การเชื่อมโยงสิ่งเร้าบางอย่างกับการตอบสนองบางอย่างมาตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาขึ้น    เรื่อย ๆ เมื่อเติบโตขึ้นตามธรรมชาติ โดยสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า สิ่งเร้าที่ไม่ได้ วางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus = UCS) หมายถึง สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้หรือตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ และการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response = UCR) ซึ่งหมายถึง การตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ
จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเป็นแผนผัง ดังนี้
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ในการทดลองของพาฟลอฟนั้น พบว่า
1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
                2. ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และไม่วางเงื่อนไข
                3.ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนกันมากครั้ง
 ทฤษฎีการเรียนรู้      
                1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบ สนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
                2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
 3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้า
                4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
                5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง

กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ                                                                                                 
            1.กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction)
2.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery)
3.กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization)                                                                                                           4.กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination)
อ้างอิง
http://puvadon.multiply.com/journal/item/5/5