วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นักทฤษฎีจิตวิทยา


กลุ่มที่1     ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์


                ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (
Sigmund Freud) เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย
เกิดเมื่อวันที่   06 พฤษภาคม ค.ศ. 1856
และเสียชีวิตเมื่อวันที   23 กันยายน ค.ศ. 1939
เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา
Psychosexual
                ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ
1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต
2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย
               ฟรอยด์ได้กล่าวถึงพลังงานพื้นฐานทางจิตที่เรียกว่า  Libido ซึ่งเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ พลังงานเหล่านี้เป็นแหล่งของแรงขับทางเพศของบุคคลทั้งหมด  โดยเน้นว่าชีวิตเพศของมนุษย์มิได้เริ่มเมื่อวัยหนุ่มสาว  หากแต่เริ่มมาตั้งแต่เด็กและจะค่อยๆ  พัฒนาเปลี่ยนรูปแบบเป็นลำดับขั้นขึ้นไป  แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามขั้นจะมีการชะงัก (Fixation) หรือการถอยกลับ (Regression) ทำให้มีผลทะท้อนไปถึงบุคลิกภาพตอนโต


                   ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้  5  ขั้นตอน คือ
     1.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณปาก (Oral Stage)
     2.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณทวารหนัก (Anal stage)
     3.ขั้นความพอใจบริเวณอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
     4.ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency Stage)
     5.ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage)
1.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณปาก (oral stage)
                มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิด-18 เดือนหรือวัยทารก ความพึงพอใจของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่น การดูด กลืน
2.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณทวารหนัก (anal stage)
                มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอใจจากการขับถ่าย
3.ขั้นความพอใจบริเวณอวัยวะเพศ (phallic or oedipal stage)
                จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของ
เด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตนและสนใจความความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
4.ขั้นแฝงหรือขั้นก่อนวัยรุ่น (latency stage)
                 มีอายุอยู่ในช่วง 7 ถึง 14 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญา เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว



5.ขั้นสนใจเพศตรงข้ามหรือขั้นวัยรุ่น (genital stage)
                วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลงต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่
                   โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
    ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
        1.อิด (Id) เป็นเสมือนแรงจูงใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการของร่างกาย
      2.อีโก้ (Ego ) เป็นสิ่งที่จะทำห้อิดบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
      3.ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่เป็นมโนธรรมและศีลธรรม
                การทำงานของคนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้










กลุ่มที่2  ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต- สังคม
อีริคสัน
ประวัติความเป็นมา  Erikson
                                อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา  และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่  เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต  ประเทศเยอรมัน  ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี  ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน  เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็ก  จะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู  สภาพสังคม  และความเป็นอยู่ของเด็ก  ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุษย์วิทยา
                                ซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์  มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน
                 อีริคสัน  Psychosocial
                   เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
                   ถ้าปฏิสัมพันธ์ไม่ดี              ส่งผลต่อการปรับตัวของสุขภาพจิต
                   แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้น
         



อีริคสัน  Psychosocial
   แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8  ขั้น
1.             1-2 ขวบ                ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจ
2.             2-3 ขวบ                                เป็นอิสระหรือละอายสงสัย
3.             4-5 ขวบ                                คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด
4.             6-11 ขวบ                ขยัน หรือมีปมด้อย
5.             11-18 ปี                   เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง
6.             20-35 ปี                    ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง
7.             36-45 ปี                    ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง
8.             45 ขึ้นไป                    มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง
ขั้นที่  1  อายุ  1-2  ขวบ    ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจ  (Trust  vs  Mistrust)
ขั้นที่  2  อายุ  2-3  ขวบ      เป็นอิสระหรือละอายสงสัย (Autonomous  vs  Shame and Doubt)
ขั้นที่  3  อายุ 4-5  ขวบ       คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด(Initiative  vs  Guilt)
ขั้นที่  4  อายุ 6-11 ขวบ      ขยัน หรือมีปมด้อย(Industry  vs  Inferiority)
ขั้นที่   5  อายุ 11-18 ปี        เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง(Ego Identity  vs  Role  Confusion)
ขั้นที่   6  อายุ 20-35 ปี           ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง (Intimacy  vs  Isolation)
ขั้นที่  7 อายุ  36-45 ปี           ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง  (Generativity  vs  Stagnation)
ขั้นที่   8 อายุ 45  ขึ้นไป        มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง  (Ego  Integrity  vs  Despair)

กลุ่มที่3  ทฤษฎีของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
        ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส ( Havighurst’s Theory of Development task )
แนวคิดของโรเบิร์ต  เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
           ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส  (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า  งานพัฒนาการ หมายถึง  งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต  สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย  มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
 ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี  3  อย่าง
  1.  วุฒิภาวะทางร่างกาย
  2.  ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
  3.  ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
 3.1  ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  (Natural  Readiness  Approach)
   3.2  ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น  (Guided  Experience  Approach)
การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
      พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
      1.  พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
      2.  พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
      3.  พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
               
3.1  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ  (
Psychosexual  Development) ของฟรอยด์ (Freud)
              3.2  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (
Psychosocial  Development)   ของอีริคสัน (Erikson)
      4.  พัฒนาการด้านจริยธรรม (
Moral  Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)

พัฒนาการตามวัย
                ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1.             วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี)
2.             วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี)
3.             วัยรุ่น (12-18 ปี)
4.             วัยผู้ใหญ่ตอนต้น  (18-35 ปี)
5.             วัยกลางคน (35-60 ปี)
6.             วัยชรา  (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)
หลักพัฒนาการแนวคิด
- สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
- เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
- พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
- มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม            
การนำไปประยุกต์ใช้
                 สามารถสังเกตพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น  และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้


                              
กลุ่มที่4  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ประวัติของเพียเจต์
Ø จอห์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 - 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 - 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา 
Ø ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์ (Piaget)
Ø เพียเจต์ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาสัตวิทยาที่มหาวิทยาลัยNeuchatelประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 
Ø เพียเจต์ ( Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
Ø ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
Ø 1.1ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี

Ø 1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
    1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี
    2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี
Ø 1.3) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
Ø 1.4) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
      เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
1.  นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกันนักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
Ø ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences)
Ø ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences)
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ 
Ø เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
Ø เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
Ø เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ 
Ø เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
Ø ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities)



กลุ่มที่ 5   ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์
ประวัติความเป็นมา เจโรมบรูเนอร์
                                เจโรม บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.. 1915  เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์  บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
                                บรูเนอร์มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม
        ขั้นที่1 Enactive representation
                                ขั้นที่1 Enactive representation (แรกเกิด – 2 ขวบ ) ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของ ต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
        ขั้นที่2 Iconic representation
                                ขั้นที่2 Iconic representation ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
        ขั้นที่3 Symbolic representation
                                ขั้นที่3 Symbolic representation ในพัฒนาการทางขั้นนี้ บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
        แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
                                ขั้นพัฒนาการต่างๆ  ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
        ระดับประถมปลาย
        ระดับมัธยมศึกษา
        ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
                                เด็กวัยอนุบาลจะอยู่ในระดับ  Iconic representation  ซึ่งการเรียนรู้ต่างๆ  อยู่ในลักษณะของการกระทำ  โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ
                                เด็กประถมต้นยังอยู่ในวัย Iconic representation  เด็กวัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้
ระดับประถมปลาย เด็กในระดับประถมปลายมีพัฒนาจาก Iconic representation  ไปสู่  symbolic  representation  ซึ่งสิ่งที่บรูเนอร์เน้นที่คล้ายคลึงกับแนวความคิดของเปียเจท์ในหลักการทั่วไป
ระดับมัธยมศึกษา การใช้สัญลักษณ์  (  symbolic  representation  )  ของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขึ้น  ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยการกระตุ้นให้ใช้  discovery  approach  โดยเน้นความเข้าใจ  concept  และสิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆ
       
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
       บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  4 ประการ คือ
1  ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2  โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4  การเสริมแรงของผู้เรียน
        สรุป
                                บรูเนอร์มีความเห็นว่า  คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ  โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  acting, imaging และ symbolizing   เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต  มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น










กลุ่มที่6  ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ประวัติของโคลเบิร์ก
                                ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)  ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์  ทฤษฎีของโคลเบิร์กได้ชื่อทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
                                โคลเบิร์ก (Lawrence  Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
                โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น
ระดับที่  1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม
·       ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ ดี  ไม่ดีจากผู้มีอำนาจเหนือตน
มักจะคิดถึงผลตามที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษ
·       จะตัดสินใจเลือกแสดงพฤติกรรมที่เป็นหลักต่อตนเอง  โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น จะพบในเด็ก 2-10 ปี


โคลเบิร์กแบ่งขั้นพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1  ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า  พฤติกรรมของตน ถูกหรือ ผิดเป็นต้นว่า  ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ  ผิด
                และจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก  พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ถูก  และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
ขั้นที่ 2  ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
                ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ  เพื่อประโยชน์หรือความ          พอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล
                พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง  แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน  ฉันจะให้.......
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
เป็นการประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง บิดามารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิด เพราะกลัวว่าตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมโดยคำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น  จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
                ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน  ไม่เป็นตัวของตัวเอง  คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี  พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ


ขั้นที่ 4  กฎและระเบียบของสังคม
                จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด  เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ 13 -16 ปี
                ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม   โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น  จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป  ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ  ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม  การตัดสินใจ   ถูก  ผิด” “ไม่ควรมาจากวิจารณญาณของตนเอง
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
                ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม  โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม  ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ ถูกและ  ผิดขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6   หลักการคุณธรรมสากล
                ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล  เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม  เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน  ในขั้นนี้สิ่งที่ ถูกและ  ผิด  เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ